Tuesday, August 14, 2007

Tips for Essay Writing


โครงสร้างของ Essay

โดยทั่วไปแล้ว Essay ประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ
Introduction
Body (supporting point (s) )
Conclusion

1) Introduction หมายถึงคำนำ คือการเปิดเรื่อง มีจุดประสงค์ให้ผู้อ่านได้ทราบถึงเรื่องหรือประเด็นหลักที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอ และจุดยืนของผู้เขียนในการนำเสนอประเด็นย่อยต่างๆที่ทำหน้าที่ support ประเด็นหลัก ในประโยคแรกของ Introduction จะเริ่มด้วย general statement คือการกล่าวถึงประเด็นที่จะเขียนแบบกว้างๆก่อน แล้วจึงย่อยประเด็นนั้นในแคบลงในประโยคต่อไป หลังจากนั้นจึงกล่าวถึงประเด็นย่อยที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอเป็นข้อๆ

ตัวอย่าง: To what extent are computers essential in modern society?

It is amazing to realize that computers have only been in common use for the last ten years or so. The invention of personal computers has had such a major effect on modern society that it is almost impossible to imagine life without them. Business, education and entertainment have all been significantly affected. It is clear now that both business and education would be unable to function without them, but there are many people who would argue that their role in entertainment is not so beneficial.

จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่าประโยคแรก "It is amazing to realize that computers have only been in common use for the last ten years or so". ทำหน้าที่เป็น general statement คือจะเปิดเรื่องแบบกว้างๆ ส่วนประโยคที่ 2 "The invention of personal computers has had such a major effect on modern society that it is almost impossible to imagine life without them". คือประเด็นที่แคบลง ย่อยลงมาจากประโยคแรก และเริ่มนำผู้อ่านเข้าประเด็นหลักที่ต้องการนำเสนอ ซึ่งก็คือ "ความสำคัญของคอมพิวเตอร์ในสังคมปัจจุบัน" ส่วนประโยคถัดมา "Business, education and entertainment have all been significantly affected... " เป็นประเด็นที่แคบลงมาจากประโยคที่ 2 และบอกให้ผู้อ่านได้ทราบถึง 3 ประเด็นย่อยที่จะนำเสนอในส่วนของเนื้อหา (body) ใน essay นี้ (business, education and entertainment) เพื่อ support ประเด็นหลักให้มีน้ำหนักมากขึ้น

ดังนั้น ถ้าสังเกตให้ดี จะเห็นว่า Introduction มีลักษณะคล้ายรูปกรวย คือจะเริ่มจากกว้างไปแคบจนถึงแคบที่สุด (general to specific)


2 ) Body หมายถึงเนื้อเรื่อง หรือประเด็นย่อยที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอเพื่อ support สิ่งที่ประเด็นหลักอ้างถึง โดยทั่วไปแล้ว body จะมีประมาณ 3 paragraphs และแต่ละ paragraph จะนำเสนอประเด็นหลักเพียง 1 ประเด็นเท่านั้น แต่ละ paragraph จะเริ่มต้นประโยคแรกด้วย topic sentence ประโยคต่อมาจะทำหน้าที่ support ประเด็นที่อ้างใน topic sentence ซึ่งอาจเขียนในรูปแบบของคำอธิบาย หรือ ตัวอย่างประกอบก็ได้

The business world is becoming increasingly competitive, and for that reason speed is very important. To be able to satisfy clients and customers, it is necessary to exchange information as quickly as possible. Without computers, all business transactions take a long time. Accounting is slow, finding the right information is slow, and communicating is slow. With the invention of computers, accounting programs are professionally designed and easy to use, information can be stored and retrieved almost instantly and it can be communicated right across the world in seconds.

Education also benefits from the ability of computers to store and communicate vast amounts of information. Scientists use computers for calculations that would have been impossible to even think of before. Students often find educational computer programs more stimulating than other forms of teaching.

Perhaps most young people still think of computers mainly as a source of games. Parents and educators often worry that children who spend many hours playing games on computers are not learning to socialize with each other, or to develop creative skills. The invention of "virtual reality" seems even more dangerous, because it seems to mean that actual reality is not being faced and learnt about.

จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่าทั้ง 3 ประโยคที่พิมพ์ด้วยตัวหนาคือ topic sentence หรือประโยคที่เป็นใจความหลักของแต่ละ paragraph ครอบคลุมใจความย่อยของประโยคที่ตามมาใน paragraph นั้นๆ ซึ่งประเด็นหลักของทั้ง 3 paragraphs คือ business, education และ entertainment ตามลำดับ ทั้ง 3 ประเด็นนี้ทำหน้าที่ support ประเด็นที่ใหญ่ที่สุดที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอ ซึ่งก็คือ "essence of computers in modern society" หรือ "ความสำคัญของคอมพิวเตอร์ในสังคมปัจจุบัน" นั่นเอง

ส่วนประโยคที่ต่อมาจาก topic sentence ในแต่ละ paragraph ก็คือการอธิบายความเพิ่มเติมจาก topic sentence นั่นเอง


3) Conclusion หมายถึงบทสรุป ซึ่งไม่จำเป็นต้องยาว ผู้เขียนอาจสามารถสรุปประเด็นทั้งหมดได้ใน 1 ประโยค ข้อสำคัญคือ บทสรุปจะต้องครอบคลุมทุกประเด็นที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่มิใช่เพียงการกล่าวซ้ำจากประเด็นนั้นๆ เพราะจะทำให้ essay นั้นน่าเบื่อ ดังนั้น เราอาจให้ความคิดเห็นเพิ่มเติม หรือข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ essay นั้นน่าสนใจยิ่งขึ้น

I would argue that while computers are clearly essential in the running of business and for scientific and educational advances, their use as a source of entertainment is actually harmful and should be controlled.

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าบทสรุปนี้ได้กล่าวยืนยันประเด็นหลักที่ต้องการนำเสนอ ว่าคอมพิวเตอร์มีความสำคัญกับสังคมปัจจุบัน ทั้งในด้านธุกิจ (business), การศึกษา (education) และบันเทิง (entertainment) แต่ส่วนที่เพิ่มเติมมาคือความคิดเห็นของผู้เขียนเกี่ยวกับอันตรายของคอมพิวเตอร์ในด้านบันเทิง และเป็นสิ่งที่ควรดูแลควบคุมนั่นเอง

ถ้าสังเกตให้ดี จะเห็นว่า conclusion มีลักษณะคล้ายกับ introduction คือครอบคลุมทุกประเด็นที่นำเสนอ แต่ต่างกันตรงที่ว่า introduction เป็นการนำเสนอจากประเด็นกว้างไปหาประเด็นแคบ (general to specific) ส่วน conclusion เป็นการนำเสนอจากประเด็นแคบไปหาประเด็นกว้าง (specific to general)


5 comments:

Paul Ringtonswig said...

เป้นประโยชน์มากๆครับ
ฝากบล็อกครับ
http://english-entertain.blogspot.com/

Anonymous said...

loadไม่ได้ค่ะ รบกวนหน่อยนะคะ ขอบคุณค่ะ
chomphoonuchw@gmail.com

Anonymous said...

ขอบคุณมากนะคะ แต่มีปัญหาที่ download ไมได้เลยคะ อยากรบกวนส่งมาทางเมลล์ให้ด้วยทั้งหมดได้มั๊ยคะ เพราะกำลังเเตรียมตัวจะสอบพอดี ขอขอบคุณล่วงหน้าเลยนะคะ
arale_yk@hotmail.com

Anonymous said...

ขอบคุณมากนะคะ แต่มีปัญหาที่ download ไมได้เลยคะ อยากรบกวนส่งมาทางเมลล์ให้ด้วยทั้งหมดได้มั๊ยคะ เพราะกำลังเเตรียมตัวจะสอบพอดี ขอขอบคุณล่วงหน้าเลยนะคะ
arale_yk@hotmail.com

Unknown said...

มาอ่านตอน July 2015
เนื้อหายังน่าสนใจและเป็นประโยชน์กับคนที่จเข้าสอบ IELTS อยู่เลยครับ

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ