แบบที่ 1. หาหัวข้อที่เหมาะสมกับแต่ละย่อหน้า (มักจะกำหนดย่อหน้า A, B C, D,E...มาให้แล้วจับคู่กับหัวข้อที่สอดคล้องกับย่อหน้านั้น ๆ ) เราต้องสรุปใจความสำคัญของแต่ละย่อหน้าและหาหัวข้อ ที่เหมาะสมกับย่อหน้านั้น ๆ ที่สุด ตัวอย่างเช่น
แบบที่ 2. เลือกหัวข้อที่เหมาะสมกับบทความทั้งหมด ตัวอย่างเช่น
คำแนะนำสำหรับการทำโจทย์รูปแบบนี้คือ
- อ่านคำสั่งอย่างระัมัดระวัง (ดูตัวอักษร ในแต่ละย่อหน้า ให้ตรงกับคำถาม เพราะความรีบร้อนอาจทำให้เราอ่านผิดย่อหน้า และเสียเวลาได้ค่ะ และบางทีเค้าจะไม่ถามเราทุก ๆ ย่อหน้า)
- เริ่มอ่านแบบ Skimimg ไว ๆ เพื่อให้คุ้นเคยกับย่อหน้านั้นก่อน
- เริ่มอ่านย่อหน้านั้น โดยพยายามจับประเด็นหลัก ๆ ถ้าเจอศัพท์ยาก ๆ ที่ไม่คุ้ยเคย ก็ข้ามไปก่อน ไม่ต้องสนใจ เมื่ออ่านจบ ให้ลองสรุปใจความโดยใช้คำของเราเอง คิดเอง ว่าเกี่ยวกับอะไรบ้าง
- ลองไล่ดูหัวข้อ (headings) ที่เค้าให้เรามาทั้งหมด ว่าข้อไหน มีคำหลักที่เราคิด และตรงตามที่เราคิดไว้มากที่สุด
- ระวังหัวข้อหลอก ที่มีข้อเท็จจริงบางอย่างตรงกับย่อหน้านั้น ๆ แต่เป็นเพียงแ่ค่บางส่วนไม่ได้สรุปใจความของทั้งย่อหน้า
- ถ้าเรามีสองหัวข้อที่ลังเล ไม่มั่นใจ ให้ทำย่อหน้าถัดไปก่อน แล้วค่อยกลับมาดูใหม่ก็ได้ค่ะ (แต่ระวังจะทำผิดข้อตอนเขียนคำตอบนะคะ)
No comments:
Post a Comment